วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553

ความรู้เกี่ยวกับไกด์ไททาเนี่ยม

เมื่อเร็วๆ นี้ได้ดูวิดีโอสอนการตกปลา เห็นนักตกปลาระดับแชมป์ในวิดีโออธิบายไปตีเหยื่อไป แค่แป๊บเดียวตีไป 20 ไม้แล้ว ได้ปลามาโชว์ 1-2 ตัวด้วย หลังจากที่กรอเหยื่อกลับมาแล้วเขาจะตีเหยื่อกลับลงน้ำเร็วมากๆ เหมือนเครื่องจักรอัตโนมัติเลย และคำที่เขาพูดถึงบ่อยๆ ในวิดีโอ คือ "ประสิทธิภาพ"หมายถึงการตีเหยื่อเข้าไปในสไตรค์โซนให้ได้มากที่สุด การตีเหยื่อเรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการตกปลาด้วยเหยื่อปลอม และส่วนประกอบของคันเบ็ดก็ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ตีเหยื่อได้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ไกด์ไททาเนียมเป็นเทคโนโลยีนึงที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ประสิทธิภาพในการตกปลาสูงขึ้น สำหรับการตกปลาในบ้านเราก็ยังมีคนสงสัยเรื่องไกด์ไททาเนียมกันอยู่ ผม คิดว่าหลายๆ คนคงลืมสังเกตไปว่ารอกดังๆ อย่าง Abu หรือ Daiwa หรือแม้แต่ Daiwa Zillion PE ที่ออกแบบมาสำหรับสาย PE ก็ยังใช้ตัวเกลี่ยสายที่เป็นไททาเนียม (Titanium Nitride)และระบุไว้ด้วยว่าเป็น Cut proof (ตัดไม่เข้า)

ถ้าเรานำไกด์ของฟูจิมาเรียงตามลำดับจะได้ว่า
1)ไกด์ SiC (Silicon Carbide) แข็งที่สุดคือประมาณ 1.5 เท่าของความแข็งเพชรธรรมชาติ ระบายความร้อนได้ดีที่สุด และเบาที่สุด
2)ไกด์ Alconite (Reinforced Aluminium Oxide) แข็งเท่าๆ กับเพชรธรรมชาติ ระบายความร้อนได้เป็นอันดับสอง แต่หนักที่สุด
3)ไกด์ Hardloy (High grade Aluminium Oxide) ไกด์สีเทา ความแข็งน้อยกว่าเพชรธรรมชาติเล็กน้อย เบาเป็นอันดับสองรองจาก SiC แต่ระบายความร้อนได้แย่ที่สุด
4)ไกด์ O-Ring (Auminium Oxide) แข็งเท่ากับ Hardloy Ring แต่หนักกว่าและบายความร้อนได้ดีกว่า Hardloy เบากว่า Alconite

เมื่อนำไกด์ไททาเนียมมาเปรียบเทียบกับกับไกด์ฟูจิแล้ว จะพบว่าไกด์ไททาเนียมจะเบาที่สุดเพราะมีแต่เฟรม ระบายความร้อนได้ดีเท่ากับ SiC ความแข็งของไกด์พอๆ กับ Hardloy แข็งแรงทนทานต่อแรงกระแทกหมดปัญหาเรื่องแหวนไกด์แตกหรือกระเทาะ นอกจากนี้รูไกด์ที่ใหญ่ขึ้นยังช่วยให้ส่งสายได้ไหลลื่นขึ้นด้วย

กล่าวโดยสรุปแล้วไกด์ไททาเนียมมีความแข็งแรงไม่แพ้ไกด์เซรามิคอย่างฟูจิเลย การช่วยให้คันเบ็ดมีน้ำหนักเบาขึ้น บาลานซ์ดีขึ้น ตีเหยื่อได้ไกลขึ้น โดยยังคงความแข็งแรงทนทานไว้ และตีเหยื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด สิ่งเหล่านี้คือวัตถุประสงค์สำคัญของการออกแบบไกด์ไททาเนียม นอกจากนี้การที่สายเบ็ดสัมผัสกับไกด์ไททาเนียมซึ่งโดยตรงยังให้ทำให้เซ๊นส์ของคันเบ็ดสูงกว่าอีกด้วย

หวังว่าเรื่องราวที่เล่ามาคงทำให้น้าๆ ทุกท่านได้มุมมองใหม่เกี่ยวกับอุปกรณ์ตกปลาไม่มากก็น้อยครับ

ขอบพระคุณทุกท่านครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น