วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553
ความรู้เกี่ยวกับคันเบ็ดโบรอน
วัสดุโบรอนเป็นวัสดุที่นำมาใช้ในการผลิตอุปกรณ์อากาศยาน ยานอวกาศ และเสื้อเกราะกันกระสุน เมื่อนำมาผลิตคันเบ็ดแล้วจะได้คันเบ็ดที่เรียวเล็ก น้ำหนักเบา ดีดส่งเหยื่อได้ดี เซ้นส์สูงและทนทานกว่ากราไฟท์ครับ นิยมนำมาทำเป็นคันฟลายและคันสปินนิ่ง เพื่อให้ได้คันน้ำหนักเบาและส่งเหยื่อน้ำหนักเบาได้ดีกว่า
ทำความเข้าใจสักนิดกับกราไฟท์และโบรอนนะครับ ตามรูปด้านบนเลย โครงสร้างกราไฟท์และโบรอนจะมีโครงสร้างเป็นตาข่าย 6 เหลี่ยมเหมือนกันครับ สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ
ตาข่ายแต่ละชั้นของกราไฟท์จะยึดสลับชั้นกัน คือ ชั้นที่ 1 ยึดกับ 3, 5, 7,... และชั้นที่ 2 ยึดกับ 4, 6, 8,...
ส่วนตาข่ายของโบรอนจะยึดกันทุกชั้น 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8,... ครับ และนอกจากนี้โบรอนยังเป็นสารกึ่งตัวนำ (semi-conductor) ทำให้มีแรงยึดเหนี่ยวแบบโลหะเพิ่มเติมด้วย จึงแข็งแรงกว่ากราไฟท์มากครับ
ความรู้เกี่ยวกับไกด์ไททาเนี่ยม
ไกด์ไททาเนียมเป็นเทคโนโลยีนึงที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ประสิทธิภาพในการตกปลาสูงขึ้น สำหรับการตกปลาในบ้านเราก็ยังมีคนสงสัยเรื่องไกด์ไททาเนียมกันอยู่ ผม คิดว่าหลายๆ คนคงลืมสังเกตไปว่ารอกดังๆ อย่าง Abu หรือ Daiwa หรือแม้แต่ Daiwa Zillion PE ที่ออกแบบมาสำหรับสาย PE ก็ยังใช้ตัวเกลี่ยสายที่เป็นไททาเนียม (Titanium Nitride)และระบุไว้ด้วยว่าเป็น Cut proof (ตัดไม่เข้า)
ถ้าเรานำไกด์ของฟูจิมาเรียงตามลำดับจะได้ว่า
1)ไกด์ SiC (Silicon Carbide) แข็งที่สุดคือประมาณ 1.5 เท่าของความแข็งเพชรธรรมชาติ ระบายความร้อนได้ดีที่สุด และเบาที่สุด
2)ไกด์ Alconite (Reinforced Aluminium Oxide) แข็งเท่าๆ กับเพชรธรรมชาติ ระบายความร้อนได้เป็นอันดับสอง แต่หนักที่สุด
3)ไกด์ Hardloy (High grade Aluminium Oxide) ไกด์สีเทา ความแข็งน้อยกว่าเพชรธรรมชาติเล็กน้อย เบาเป็นอันดับสองรองจาก SiC แต่ระบายความร้อนได้แย่ที่สุด
4)ไกด์ O-Ring (Auminium Oxide) แข็งเท่ากับ Hardloy Ring แต่หนักกว่าและบายความร้อนได้ดีกว่า Hardloy เบากว่า Alconite
เมื่อนำไกด์ไททาเนียมมาเปรียบเทียบกับกับไกด์ฟูจิแล้ว จะพบว่าไกด์ไททาเนียมจะเบาที่สุดเพราะมีแต่เฟรม ระบายความร้อนได้ดีเท่ากับ SiC ความแข็งของไกด์พอๆ กับ Hardloy แข็งแรงทนทานต่อแรงกระแทกหมดปัญหาเรื่องแหวนไกด์แตกหรือกระเทาะ นอกจากนี้รูไกด์ที่ใหญ่ขึ้นยังช่วยให้ส่งสายได้ไหลลื่นขึ้นด้วย
กล่าวโดยสรุปแล้วไกด์ไททาเนียมมีความแข็งแรงไม่แพ้ไกด์เซรามิคอย่างฟูจิเลย การช่วยให้คันเบ็ดมีน้ำหนักเบาขึ้น บาลานซ์ดีขึ้น ตีเหยื่อได้ไกลขึ้น โดยยังคงความแข็งแรงทนทานไว้ และตีเหยื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด สิ่งเหล่านี้คือวัตถุประสงค์สำคัญของการออกแบบไกด์ไททาเนียม นอกจากนี้การที่สายเบ็ดสัมผัสกับไกด์ไททาเนียมซึ่งโดยตรงยังให้ทำให้เซ๊นส์ของคันเบ็ดสูงกว่าอีกด้วย
หวังว่าเรื่องราวที่เล่ามาคงทำให้น้าๆ ทุกท่านได้มุมมองใหม่เกี่ยวกับอุปกรณ์ตกปลาไม่มากก็น้อยครับ
ขอบพระคุณทุกท่านครับ
มีแต่ป๊อก ไม่มีแป๊ก กับ vibration
เหยื่อไวเบรชั่นแบบนี้เป็นไม้ตายในการตีปลาช่อนมานาน แม้มีกระดี่เหล็กขึ้นมาทาบรัศมี แต่เสน่ห์ของไวเบรชั่นก็ไม่มีวันจางไป แรงสั่นสะเทือนดี แอ็คชั่นแรงเร็ว ตีไกล ครอบคลุมพื้นที่กว้างอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้รูปร่างหน้าตา เสียงเร้าใจ ควบคุมความลึกได้และตกได้ทุกระดับความลึกถือเป็นจุดเด่นที่ทำให้ไวเบรชั่นเหนือกว่ากระดี่เหล็กที่เอาแต่มุดหน้าดินอย่างเดียว
เทคนิคง่ายๆสำหรับไวเบรชั่นนะครับ
(1) ขั้นแรกต้องมีไว้ใช้ซักตัวก่อนครับ ถ้ายังไม่มีก็ประมูลได้เลยครับ ลงไว้ 4 ตัวเลยจากนั้นก็เตรียมรอกคันกับแว่นโพลาไรซ์ซักอันก็ออกลุยได้
(2) ซ้อมตีเหยื่อดูก่อน ชี้ปลายคันลงแล้วกรอสายดูว่าความเร็วขนาดไหนที่ทำให้เหยื่อว่ายที่ระดับความลึกที่สม่ำเสมอ ซ้อมซัก 2-3 ไม้ก็พอได้แล้ว
(3) ตีเหยื่อตามแนวตลิ่ง แนวพืชน้ำ หรือที่ที่คิดว่าปลาหลบอยู่ ความลึกก็เอาแค่เรามองเห็นเหยื่อแบบวับๆ แวมๆ ด้วยความเร็วที่ซ้อมไว้ ถ้ามีตัวอยู่ก็น่าโดน
(4) แผนสองครับ ทีนี้ตีเหยื่อแล้วรอดูว่าใช้เวลากี่วินาทีกว่าเหยื่อถึงหน้าดินถ้าซักประมาณ 6 วินาที ก็ตีใหม่แล้วนับถึง 4-5 วินาทีก็กรอสายตามที่ซ้อมไว้เหยื่อไวเบรชั่นจะจมลงประมาณวินาทีละครึ่งฟุต ถ้าทำแบบที่ว่ามาเหยื่อจะว่ายเหนือหน้าดินประมาณครึ่งฟุตครับ
(5) แผนสุดท้ายครับ ทำเหมือนข้อ (4) อีกที แต่ที่นี้กรอสายแบบไฮสปีดไปเลยครับถ้าเข้าถูกที่ถูกมุม แม้ว่าปลาไม่หิวแต่มันก็มีรีเฟล็กซ์สไตรค์ได้ ได้ตัวกันบ้างครับ
ลองใช้วิธีการที่กล่าวมาเป็นแนวทางเพื่อพัฒนาการนำเสนอเหยื่อไวเบรชั่นของน้าๆ ให้ประสบความสำเร็จกันทุกคนนะครับ ขอให้โชคดีครับ ขอบคุณมากครับ มีความสุขกับการตกปลาทุกท่านครับ...^_^